ตรีนุช เผยกรณี น้องโบนัส ฆ่าตัวตายเป็นบทเรียนสำคัญ ย้ำแนะแนวโรงเรียนควรทำให้เข้มแข็งและเข้มข้น เพื่อเข้าใจปัญหาของเด็ก น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กรณี น้องโบนัส นักเรียนฆ่าตัวตาย โดยคาดว่าสาเหตุการผูกคอตายน่าจะมาจากที่ทางนักเรียน ถูกโรงเรียนในจังหวัดพัทลุง ไล่ออก และมีปัญหาครอบครัว ไม่มีเงินจ่ายค่าเรียน
โดย น.ส.ตรีนุช ย้ำเรื่อง ความปลอดภัยในสถานศึกษา ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ ศธ.ผลักดันอยู่ตลอด ที่ผ่านมา
ได้ตั้งศูนย์สถานศึกษาปลอดภัย หรือ MOE SAFETY CENTER โดยมีช่องทางให้ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เข้ามาร้องทุกข์ ผ่านแอพพลิเคชั่น MOE SAFETY CENTER ร้องเรียนผ่าน www.MOESafetyCenter.com, LINE @MOESafetyCenter หรือโทร 0-2126-6565
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ตนเน้นย้ำกับสถานศึกษาทุกแห่งแล้วว่า นอกเหนือจากการสร้างความปลอดภัยแล้ว ควรเพิ่มการแนะแนวเด็กมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการแนะแนวเรื่องอาชีพ แนะแนวเรื่องครอบครัว เพราะบริบทของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่ละพื้นที่มีปัญหาต่างกัน การสร้างความปลอดภัยในแต่ละบริบทจึงมีไม่เหมือนกัน หากพบเด็กมีปัญหาครอบครัว ขอให้โรงเรียนสร้างความเข้าใจ ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีคนที่จะช่วยเหลือสนับสนุนและคอยประคองจิตใจให้เข้มแข็งอยู่ในสังคมต่อไปได้ นอกจากนี้ โรงเรียนควรดูแลสนับสนุนหาทุนการศึกษาให้เด็กเข้าถึง และได้รับการศึกษาทุกคน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณี น้องโบนัส ถือเป็นบทเรียนให้โรงเรียนกลับมาดูระบบแนะแนวมากขึ้นหรือไม่ น.ส.ตรีนุชกล่าวว่า “ค่ะ เพราะที่ผ่านมาแม้โรงเรียนจะมีระบบแนะแนวอยู่แล้ว แต่ควรทำให้เข้มแข็งและเข้มข้น โดยต้องดูรายละเอียดปัญหาของเด็กให้มากขึ้น เพราะสังคมปัจจุบันมีความซับซ้อน เด็กอาจจะมีปัญหาครอบครัว มีปัญหาเศรษฐกิจ ดังนั้นครูควรทำงานใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้น”
ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ทางเขตพื้นที่ฯ รายงานเรื่องดังกล่าวมาแล้ว เบื้องต้นพบว่าเด็กมีปัญหา 2 ส่วน คือ ปัญหาการเรียน และปัญหาครอบครัว โดยปัญหาครอบครัวมาจากผู้ปกครองอยากให้เด็กย้ายไปเรียนที่โรงเรียนใหม่ แต่เด็กอยากเรียนโรงเรียนเดิม ส่วนปัญหาการเรียนคือ เด็กไม่สามารถมาเรียนออนไซต์ได้เหมือนเพื่อน เพราะไม่สามารถหาที่พักได้ทัน “ผมมองว่ากรณีนี้ เกิดจากโรงเรียนและผู้ปกครองพูดคุยกันน้อยเกินไป ถ้าพูดคุยกันมากกว่านี้ ใส่ใจมากกว่านี้ ปัญหานี้อาจจะยังไม่เกิด” นายอัมพรกล่าว
ครม. เคาะ ลดภาษีดีเซล 5 บาท/ลิตร สองเดือน
ที่ประชุม ครม. มีมติ ลดภาษีดีเซล 5 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลาสองเดือน ส่วนน้ำมันเบนซินช่วยเฉพาะกลุ่ม พร้อมวอนประชาชนช่วยประหยัดพลังงาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เผยประชุม ถึงผลประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ว่าที่ประชุม มีมติให้ลดภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. – 20 ก.ค. 2565 เป็นเวลา 2 เดือน และจะพิจารณาครั้งละ 2 เดือน คาดว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ของรัฐอีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และของเดิมติดลบอยู่แล้ว รวมแล้วที่จะใช้ทั้งสิ้นประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
เพื่อบรรเทาภาระราคาน้ำมัน ค่าครองชีพประชาชน และลดภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยแนวทางการลดภาษีสรรพสามิตมีวงเงินไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่กระทบกับการจัดเก็บรายได้เกินไป
เมื่อผู้สื่อถามถึง ราคาน้ำมันเบนซินมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไร นายกฯ กล่าวว่า น้ำมันเบนซินจะพิจารณาเฉพาะกลุ่มให้อยู่แล้ว ซึ่งมทุกคนก็ทรายดีว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมาก แล้วเราจะเอาเงินมาจากไหน ที่ให้ความสำคัญกับดีเซลเพราะเป็นต้นทุนการผลิต การขนส่งสินค้าต่างๆ การบริการ ขนส่งมวลชน
ส่วนเบนซินช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่เดือดร้อนจริงๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องช่วยกันประหยัดพลังงาน รัฐบาลอยากช่วยทุกอัน แต่ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าเรามีรายได้อย่างไร
อนุชา เผยเดินหน้าเอาผิด หมอปลา ตามกฎหมาย ปมบุกวัดหลวงปู่แสง ยืนยันสำนักพุทธไม่เคยนิ่งเฉย รับศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ กรณีการดำเนินคดีกับ หมอปลา หรือนาย จีระพันธ์ เพชรขาว ที่บุกไปที่พักสงฆ์ดงสว่างธรรม ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เพื่อรวบรวมหลักฐานคลิปของ หลวงปู่แสง ญาณวโร อายุ 98 ปี
จนมีข่าวออกมาว่าลวนลามและจับหน้าอกหญิงสาว แต่ในภายหลังตนเองก็ได้ออกมายอมรับว่า หญิงสาวในคลิป เป็นนักข่าวสาวของสื่อทีวีช่องดัง จึงทำให้มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการจัดฉากเกิดขึ้น
นายอนุชา กล่าวว่า ทุกอย่างว่าไปตามกฎหมาย อะไรที่ยอมไม่ได้เป็นอาญาแผ่นดินก็ต้องดำเนินการตามที่นักกฎหมายกล่าวไว้ ซึ่งในส่วนของสำนักพุทธฯ ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) ได้มีการเข้าไปดูแลพระสงฆ์และศาสนาอยู่แล้ว
โดยเฉพาะในเรื่องการกำกับดูแลพระตามลำดับชั้น และอยู่ระหว่างที่จะตั้งโทษในส่วนที่จะเกิดขึ้นแต่ละลำดับชั้นลงไปในการดูแลของพระใต้การปกครอง ยืนยันว่าไม่ใช่ว่าสำนักพุทธฯ จะนิ่งเฉย หลายอย่างได้ทำไปแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน บางครั้งความเชื่อความศรัทธายังคงมีอยู่ในสังคม บางครั้งใครไม่เชื่อไม่ศรัทธาก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ความเชื่อความศรัทธาที่ยังคงมีมาจากอดีต เป็นคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีมาตั้งแต่อดีตกาล ยกเว้นคนอวดอุตริเท่านั้น ดังนั้นเราจะไม่ปล่อยให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่บอกว่าจะเข้ามาบริหารจัดการพุทธศาสนา มันไม่ถูก
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป